Media Gallery

YUSHAN FORUM UPDATES

งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “Yushan Forum” ครั้งที่ 3 “Deepening Progressive Partnerships in Asia” [PR]

October 17th, 2019 | Author: Brandbuffet

งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “Yushan Forum” ครั้งที่ 3 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 8-9 ตุลาคม 2562 ณ โรงแรมแกรนด์ไฮแอท ไทเป มีผู้แทนจำนวน 30 ท่านจาก 22 ประเทศเข้าร่วมงานและมีประชาชนทั่วไปรวมทั้งสำนักข่าวทั้งภายในและต่างประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมงานทั้งสิ้น 1,000 กว่าคน

ภายในงานมีการจัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และอภิปรายแสดงความคิดเห็นภายใต้ธีมหลักของงานที่เน้นเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างกันในภูมิภาคเอเชีย (Deepening Progressive Partnerships in Asia) โดยมีตัวแทนของแต่ละประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันนำเสนอมุมมองจากประสบการณ์การทำงานทั้งทางตรงและทางอ้อมในเวทีเสวนาย่อยภายใต้หัวข้อที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ (1) Enhancing Technological and Economic Partnerships, (2) Building Talent Cultivation Partnerships, (3) Promoting Partnerships in Sustainable Development, (4) Transnational Cooperation and Asia’s Civil Society, (5) Drawing Together – Transnational Perspectives on the International Collaboration of Culture, (6) Asian Think Tanks Cooperation – How to Respond to the Challenges of International of Culture, (7) New Generation Leaders for Societal Change in Asia ประธานาธิบดีไช่อิงเหวินกล่าวเปิดงาน

ภายในงานยังมีการนำเสนอให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางด้านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนของไต้หวันกับกลุ่มประเทศภายใต้นโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southbound Policy หรือภาษาจีนคือ 新南向政策 อ่านว่า ซินหนานเซี่ยงเจิ้งเช่อ) ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือที่สอดรับและเชื่อมโยงระหว่างกันทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อุตสาหกรรมการผลิต การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาอย่างยั่งยืนและการพัฒนาทางสังคม ความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนนำไปสู่การพัฒนาร่วมกันระหว่างไต้หวันกับกลุ่มประเทศภายใต้นโยบายดังกล่าว โดยการพัฒนาทุกด้านล้วนเน้นให้ความสำคัญและความใส่ใจกับความต้องการที่แท้จริงของแต่ละประเทศ เพื่อนำไปสู่ความประสบผลสำเร็จร่วมกันอย่างยั่งยืน

การเสวนาโต๊ะกลมภายใต้หัวข้อ “Roundtable dialogue on envisioning Asia” ยังชูประเด็นสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาของภูมิภาคเอเชีย โดยมีผู้ร่วมนำปาฐกถาที่สำคัญและน่าสนใจดังนี้ (1) Sandra Oudkirk ตำแหน่ง Senior Official for APEC, Department of State, USA, (2) Amb. Shivshankar Menon ตำแหน่ง Chairman, Advisory Board, Institute of Chinese Studies in Delhi, India, (3) Bark Tae Ho ตำแหน่ง President, Lee&Ko Global Commerce Institute, South Korea, (4) Chien-Jen Chen ตำแหน่ง Vice President, Office of thePresident, R.O.C. (Taiwan), (5) Chen-Chung Deng ตำแหน่ง Minister without Portfolio, Executive Yuan, R.O.C. (Taiwan), (6) H.H. Michael. Hsiao ตำแหน่ง Chairman, Taiwan Asia Exchange Foundation, Taiwan

เนื้อหาตลอดการเสวนาโต๊ะกลมเน้นย้ำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันทางด้านการพัฒนาภูมิภาคเอเชียในอนาคต รวมทั้งนโยบายระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ให้ความสำคัญกับความร่วมมือระหว่างกันในภูมิภาคเอเชีย เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ระหว่างกันและสามารถนำไปใช้ในทางปฏิบัติได้จริง โดย Amb. Shivshankar Menon เห็นว่าควรพัฒนากรอบความร่วมมือที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับใช้ให้เข้ากับประเด็นปัญหาที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สอดรับกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชนหรือภาคเอ็นจีโอ การดำเนินการในลักษณะดังกล่าวมีความสอดรับกับการดำเนินนโยบายมุ่งสู่ใต้ใหม่เป็นอย่างยิ่ง ที่เน้นการทำงานแบบให้ความใส่ใจกับทุกภาคส่วน

นอกจากนี้ Bark Tae Ho ยังกล่าวเสริมอีกว่าศูนย์พัฒนาอาชีพผู้ใช้แรงงานของไต้หวันในเวียดนามได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก ซึ่งทางเกาหลีใต้มีความสนใจที่จะศึกษาเรียนรู้ระบบการจัดการของศูนย์ดังกล่าวจากไต้หวัน ฉะนั้นจึงเป็นโอกาสอันดีที่ทุกภาคส่วนของประเทศไทยจะเปิดรับและสร้างความร่วมมือทางด้านต่าง ๆ กับทุกภาคส่วนของไต้หวัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการค้าและการลงทุน เพื่อก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนแนวคิดการบริหารจัดการสมัยใหม่ที่นำไปสู่ความสำเร็จร่วมกันอย่างรอบด้าน

“Yushan Forum” เป็นหนึ่งในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่สำคัญเช่นเดียวกันกับงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติหลาย ๆ งานที่แต่ละประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเคยมีมา การจัดงานประชุม “Yushan Forum” จึงเสมือนเป็นเวทีในการแสดงวิสัยทัศน์ทางด้านความร่วมมือและพัฒนาร่วมกันของไต้หวันที่มีต่อกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไต้หวันมีความมุ่งหวังและตั้งใจจริงที่จะสร้างความร่วมมือทางด้านการพัฒนาประเทศและสังคมร่วมกันกับประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การปาฐกถาและการเสวนาหัวข้อย่อยต่าง ๆ ภายในงานยังสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จทางด้านร่วมมือด้านต่าง ๆ ระหว่างไต้หวันกับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือทั้งในระดับรัฐบาล เอกชน และประชาชนทั่วไป ไต้หวันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตอันใกล้นี้ความร่วมมือระหว่างกันจะยิ่งพัฒนาต่อยอดยิ่ง ๆ ขึ้นไปพร้อมกับความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาในระดับภูมิภาคร่วมกันอย่างผาสุก

นอกจากนี้ Alan H. Yang กรรมการผู้จัดการ (CEO) ของ Taiwan-Asia Exchange Foundation ยังกล่าวเสริมภายในงานอีกว่านโยบายมุ่งสู่ใต้ใหม่ของไต้หวันให้ความเป็นสำคัญกับการพัฒนาที่เน้นทรัพยากรมนุษย์เป็นสำคัญ ไต้หวันมิเพียงให้ความสำคัญแก่ความร่วมมือและการพัฒนาร่วมกันทางด้านเศรษฐกิจ การค้าการลงทุนและอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญทางด้านการศึกษา การพัฒนาทางด้านทรัพยากรมนุษย์ การเชื่อมโยงและสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกันอีกด้วย โดยไต้หวันเล็งเห็นว่าการพัฒนาอย่างบูรณาการและรอบด้านในลักษณะข้างต้นจะก่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงทั้งต่อสังคมและประชาชนของทุกฝ่าย นอกจากนี้ไต้หวันยังหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะเกิดความร่วมมือที่ดีทางด้านนวัตกรรมทางสังคม (social innovation) เทคโนโลยีสารสนเทศสุขภาพ (eHealth) และการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติร่วมกันกับทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและประชาชนของประเทศไทย เพื่อนำไปสู่สังคมที่ใส่ใจและเป็นมิตรระหว่างกันอย่างยั่งยืน


This article is published on Brandbuffet.